Discourse Marker
ปัญหาหนึ่งที่ผู้แปลประสบเมื่ออ่านข้อความที่ติดต่อกันหลายประโยค
คือ เกิดความสับสน ไม่ทราบว่าเรื่องราวและใจความเชื่อมโยงกันอย่างไร ส่วนใดเป็นประธาน ส่วนใดเป็นกริยาหลัก และส่วนใดเป็นส่วนขยาย
โดยปกติแล้วประโยคที่ยาวและซับซ้อนจะมีคำเชื่อม (connectives) หรือคำโยงความ (discourse markers) ต่าง ๆ เช่น because,though, however เป็นต้น ทำหน้าที่เชื่อมโยงความแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน
คำเชื่อมเหล่านี้นอกจากจะทำหน้าที่เชื่อมข้อความตามโครงสร้างแล้วแต่ละคำยังมีความหมายเฉพาะอีกด้วย ซึ่งในการแปลถ้าผู้แปลสามารถจับความหมายของคำเชื่อมเหล่านี้ได้จะทำให้แปลข้อความออกมาได้ถูกต้องชัดเจน คำเชื่อมต่าง ๆแบ่งตามประเภทและหน้าที่ดังต่อไปนี้
![]() ![]()
อ่านข้อความหรือประโยคเพื่อให้เข้าใจความหมายต่าง ๆ
ก่อนจะลงมือแปลให้แบ่งข้อความนั้นเป็นตอน ๆ หรือแบ่งประโยคเป็นช่วงสั้น ๆ และวิเคราะห์โครงสร้างของข้อความหรือประโยคว่าส่วนใดเป็นประธาน ส่วนใดเป็นกริยาหลัก กรรมและส่วนขยาย
ตัวอย่าง
As a schoolboy / he chose
to take the bus to school / instead of being driven there in
the family’s limousine. /Later, he won a King’s Scholarship / to study
engineering in the United States, / but halfway through that, /
he decided to give it up / and returned to Thailand /
to study medicineinstead. /
จะสังเกตว่า ข้อความนี้มีคำเชื่อมอยู่ 5 คำด้วยกัน คือ as ที่ทำหน้าที่บอกเวลา but, instead และ instead of ทำหน้าที่บอกความแย้ง และ and ทำหน้าที่บอกความเพิ่มเติม ส่วนเครื่องหมาย / แบ่งช่วงข้อความที่จะแปล
คำแปล
เมื่อเป็นเด็กนักเรียน
เขาเลือกที่จะนั่งรถเมล์ไปโรงเรียนแทนที่จะนั่งรถที่บ้านไป ต่อมาเขาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ยังประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อเรียนไปได้ครึ่งทาง
เขาตัดสินใจยกเลิก และกลับมาเมืองไทยเพื่อเรียนแพทย์แทน
ตัวอย่าง
If you want to change the
world, change the man in the mirror.
ถ้าเธอต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกละก็ จงเปลี่ยนคนที่คุณเห็นในกระจก
I hear you are enjoying your new job; on the contrary, I think it’s dull.
ฉันได้ยินว่าคุณสนุกกับงานใหม่ของคุณ ตรงกันข้ามทีเดียวฉันคิดว่าน่าเบื่อ
You can add the fluid to the powder or; conversely, the powder to the
fluid.
คุณสามารถเติมของเหลวไปในแป้งหรือกลับกันเติมแป้งไปในของเหลวก็ได้
|